FIP แมวคืออะไร?
FIP หรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (Feline Infectious Peritonitis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา (FCoV) ซึ่งเป็นไวรัส RNA ที่พบได้บ่อยในแมว แม้ว่าแมวส่วนใหญ่จะสามารถกำจัดเชื้อ FCoV ได้เองหรือ ภูมิคุ้มกันของน้องแมวปกติ FCoV ก็ไม่ได้ทำอันตรายแก่น้องแมว แต่ถ้าภูมิตกไวรัสจะกลายพันธุ์เป็น FIPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค FIP นั้นเอง
สาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันตก
การที่น้องแมวภูมิตกนั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากความเครียดซึ่งแต่ตัวจะมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน โดยที่เราพบทั่วไปคือ
ความสะอาดโดยเฉพาะกระบะทราย
การเลี้ยงรวมกันหลายตัวโดยขนาดพื้นที่ไม่เพียงพอ หรือมีการขู่กัน
มีโรคประจำตัวอย่างลิวคีเมียหรือเอดส์แมว
การเดินทางไกล
เสียงรบกวน
อาบน้ำบ่อยมากเกินไป
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลทำให้น้องแมวเกิดความเครียด เจ้าของน้องต้องคอยดูว่าน้องตอบสนองกับกิจกรรมไหน เพื่อหลีกเลี่ยงให้น้องแมวไม่เกิดความเครียด
อาการของโรค FIP ในแมว
อาการของ FIP ในแมวจะแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก:
FIP แบบเปียกมีลักษณะเด่นคือการสะสมของเหลวในช่องท้องหรือช่องอก ทำให้ท้องบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และอาการอื่นๆที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้
เบื่ออาหารหรือทานอาหารน้อยลง
น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เซื่องซึม ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ
หายใจลำบาก เนื่องจากน้ำไปเบียดปอด
มีไข้
FIP แบบแห้งเกิดจากการอักเสบเรื้อรังในอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งยากต่อการสังเกตจากภายนอก ซึ่ง FIP แบบแห้งจะอันตรายกว่าแบบเปียกเนื่องจากสามารถเข้าไปยังระบบประสาท, ดวงตา และสมองได้ อาการที่พบได้ใน FIP แบบแห้งมีดังนี้
เบื่ออาหารหรือทานอาหารน้อยลง
น้ำหลักตัวลดลง
เซื่องซึม ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ
มีไข้
มีปัญหาที่ดวงตา (Ocular) ดวงตาขุ่น, มีเลือดคั่งในตา, ในบางกรณีมองไม่เห็น
มีปัญหาที่ระบบประสาท (Neurological) ขาหลังอ่อนแรง เดินเซ
หากไวรัสขึ้นสมองจะพบอาการชัก (อันตราย)
การวินิจฉัย
โรค FIP ในแมวเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ปัจจุบันสามารถตรวจวินิจฉัย FIP นั้นต้องใช้ข้อมูลหลายๆส่วนประกอบกันไม่ว่าจะเป็น
อาการที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น
ผลตรวจเลือด CBC (จำเป็นต้องตรวจโปรตีน Albumin Globulin ด้วย)
Rivalta Test (เฉพาะ FIP แบบเปียก)
RT-PCR (แม่นยำที่สุด)
การรักษา
ปัจจุบันสามารถทำการรักษา FIP ได้แล้ว แต่โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดเมื่อรักษาหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นได้ สามารถศึกษาแนวทางการรักษา FIP ได้จาก วิธีการรักษา FIP ในแมว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line OA: @emunefipth
Facebook: Emune Thailand
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำปรึกษา