“ไข้หัดแมว” อาการอันตรายที่เจ้าของไม่ควรมองข้าม – รีบสังเกต รีบรักษา
- EMUNE
- 7 มิ.ย.
- ยาว 1 นาที

โรคไข้หัดแมว (Feline Panleukopenia Virus, Feline Parvovirus Virus) เป็นโรคติดต่อที่เป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตของน้องแมว เรียกได้ว่าเป็นโรคที่อันตรายเบอร์ต้นๆของแมว โดยเฉพาะลูกแมวและแมวที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
ไวรัสนี้จะโจมตีระบบภูมิคุ้มกัน ลำไส้ และไขกระดูก ทำให้แมวอ่อนแอ และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 48–72 ชั่วโมงหากไม่รักษา
6 อาการที่บ่งบอกว่า “ไข้หัดแมว” เข้าขั้นอันตราย
ถ่ายเหลวรุนแรง หรือมีเลือดปน
เกิดจากเยื่อบุลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงถ่ายบ่อย จนอ่อนแรงและขาดน้ำ
อาเจียนต่อเนื่องหลายครั้ง
อาเจียนน้ำใสหรือเหลืองจนตัวแห้ง อันตรายมากในลูกแมว
เซื่องซึม ไม่ร่าเริงและเบื่ออาหาร
ไม่ตอบสนองแมวที่เคยเล่นซน กลับนิ่ง ไม่ลุก ไม่สนใจอาหาร
มีไข้สูง หรืออุณหภูมิลดต่ำ
บางตัวเริ่มจากไข้สูง 40°C+ แต่ปลายทางอุณหภูมิกลับลดต่ำลงเสี่ยงต่อภาวะช็อก
ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
แมวจะตัวแห้ง หนังยุบ หายใจแรง(สังเกตง่าย: จับหนังที่หลังแล้วยืดแล้วไม่เด้งคืน)
เม็ดเลือดขาวต่ำ (pancytopenia)
ไวรัสทำลายไขกระดูก ทำให้ภูมิคุ้มกันหายไปผลเลือดจะเห็นค่า WBC ต่ำมาก
⚠️ อาการเหล่านี้อันตรายแค่ไหน?
แมวที่เป็นไข้หัดแมว หากมีอาการ 2–3 ข้อขึ้นไปโดยเฉพาะ ถ่ายเหลว + ซึม + อาเจียนจำเป็นต้องพบสัตวแพทย์ทันทีเพราะหลายเคสเสียชีวิตภายใน 1–3 วันโดยไม่ได้รักษา
✅ วิธีป้องกัน "ไข้หัดแมว"
🩺 พาแมวฉีดวัคซีน FPV (เริ่มตั้งแต่ 6–8 สัปดาห์)
🧼 ฆ่าเชื้อสิ่งแวดล้อมด้วยเดทตอล หรือไฮเตอร์
🐈⬛ แยกแมวใหม่ก่อนเข้าบ้าน (อย่างน้อย 14 วัน)
🍲 ให้โภชนาการที่เหมาะสมเพื่อเสริมภูมิต้านทาน แต่ควรอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (ให้มากไปก็ไม่ดี)
❗ ระวัง! อย่าสับสนกับโรค FIP
ไข้หัดแมว (FPV) = อาการเฉียบพลัน อาเจียน-ถ่าย-ไข้สูง
FIP = อาการค่อยเป็นค่อยไป มักมีน้ำในท้อง น้ำในปอด หรือซีดผอมเรื้อรัง
ทั้ง 2 โรคอันตรายต่างกัน แต่ต้องแยกให้ออก เพื่อรักษาให้ถูกวิธี
ไข้หัดแมวเป็นโรคที่อันตราย แต่การรักษาไม่ใช้ระยะเวลานานเท่าโรค FIP
หากพบว่าน้องแมวเป็นไข้หัดแมว และ FIP พร้อมกัน ให้รักษาไข้หัดแมวให้หายก่อน แล้วค่อยรักษาโรค FIP ต่อ